วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

1.ให้บอกลักษณะภูมิภาคของเหนือ
ภาคเหนือประกอบด้วย 9 จังหวัดที่อยู่ตอนบนสุดประเทศ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นแบริเวณที่ราบระหว่างภูเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน อาชีพของคนส่วนใหญ่คือการเพาะปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิศาสตร์ ภาคเหนือเป็นเขตที่มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์เหลืออยู่มากที่สุดของประเทศ
2.แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดอะไรบ้าง

ท่านทราบหรือไม่ว่า แม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากเป็นการรวมตัวของ ปิง วัง ยม น่าน อย่างที่เรา ๆ รู้จักอยู่แล้วนั้น ยังมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่น่าสนใจอีกหลายอย่างทั้งวิถีชีวิต อารยธรรม รวมถึงตำนานต่างๆ มีอยู่หลายตำนานด้วยกัน แต่ที่น่าสนใจและใกล้เคียงกับประวัติศาสตร์ของไทยนั้นมีอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเริ่มต้นเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้ พระราเมศวร ราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี และได้ให้ ขุนหลวงพระงั่ว พระเชษฐาไปปกครองเมืองสุพรรณบุรี พุทธศักราช 1912 พระเจ้าอู่ทอง สวรรคต พระราเมศวร ราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์แทน แต่ในเวลาต่อมาก็จำต้องถวายราชสมบัติให้ ขุนหลวงพระงั่ว พุทธศักราช 1913 ขุนหลวงพระงั่วได้ขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1" นับเป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในการทำสงครามมาแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง ในขณะนั้นกรุงสุโขทัยมี พระมหาธรรมราชาลิไท เป็นกษัตริย์ปกครอง พระองค์ทรงอ่อนแอมาก ประเทศราชต่างก็แข็งเมือง ทางกรุงสุโขทัยไม่สามารถไปตีคืนมาครอบครองเหมือนดังเดิมได้ พุทธศักราช 1915 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 พระองค์ทรงยกกองทัพเข้าตีแคว้นสุโขทัยตอนใต้ โดยยกกองทัพเข้าตีเมืองจำปา (ชัยนาท) ได้ก่อนแล้วยกทัพมาตั้งมั่นล้อมเมืองพระบางไว้ ซึ่งเมืองพระบางนั้นเป็นเมืองหน้าด่านตอนใต้ของสุโขทัย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำใหญ่มี เจ้าพระยาอนุมานวิจิตรเกษตร เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้นมีเมืองในการปกครองอีก 4 เมือง คือ 1. เมืองไตรตรึงษ์ อยู่ทางเหนือเมืองพระบาง มี เจ้าพระยาอัษฎานุภาพ เป็นเจ้าเมือง (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.เมือง จ.กำแพงเพชร) 2. เมืองไพศาลี อยู่ทางทิศตะวันออก มี เจ้าพระยาราชมณฑป เป็นเจ้าเมือง (ปัจจุบันคือบ้านหนองไผ่ ต.หนองไผ่ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์) 3. เมืองการุ้ง อยู่ทางทิศตะวันตก มี พระยาวิเศษสรไกร เป็นเจ้าเมือง (ปัจจุบันคือ บ้านการุ้ง ต.วังหิน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี) 4. เมืองจำปา อยู่ทางทิศใต้ (ปัจจุบันคือ จ.ชัยนาท) เจ้าพระยาอนุมานวิจิตรเกษตร มีทหารเอกอยู่ 2 คน คนหนึ่งชื่อ สมบุญ อีกคนหนึ่งชื่อ ศรี แต่ทว่า ศรีไปขึ้นกับฝ่ายกรุงศรีอยุธยา เพื่อหวังจะได้เป็นใหญ่ในพระบาง ทางด้านเมืองหน้าด่านของเมืองพระบางทั้งสาม (เว้นนครจำปาซึ่งถูกกรุงศรีอยุธยายึดไปแล้ว) จึงได้ยกทัพมาช่วย อยุธยาล้อมเมืองพระบางอยู่ถึง 5 เดือนเต็ม และแล้ว ศรีผู้ทรยศ ก็สามารถนำกองทัพอยุธยาเข้าตีเมืองพระบางไว้ได้ เจ้าพระยาทั้งสี่พร้อมด้วย สมบุญ ทหารเอกถูกจับได้ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ให้ทหารนำตัวเจ้าพระยาทั้งสี่และสมบุญเข้าเฝ้าพระองค์ตรัสว่า "เราได้ทราบว่าพวกท่านกล้าหาญและเข้มแข็งนัก เรายินดีที่ได้พบและรู้จักพวกท่าน เราต้องขอโทษที่ต้องเข้าตีเมืองพระบางเพราะเราเห็นว่าสุโขทัยนับวันจะเสื่อมโทรมลงเป็นช่องทางให้ข้าศึกศัตรูจู่โจมเข้ามาแย่งยื้อถือปกครอง เราจึงคิดรวบรวมไทยไว้ให้เป็นปึกแผ่นเราเห็นว่าพวกท่านทั้งห้าคนนี้เป็นคนซื่อสัตย์กตัญญูมั่นอยู่ต่อพระเจ้าอยู่หัวของท่านยิ่งนัก ยากที่จะหาคนอย่างพวกท่านได้อีก เราจะขอให้ท่านรับราชการกับเราสืบไป" พระยาอัษฎานุภาพจึงกราบทูลว่า "นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แต่เสียใจที่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งห้านี้ ได้ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในพระเจ้าอยู่หัวในราชวงศ์สุโขทัยเสียแล้ว มิอาจอยู่ตากหน้ารับความสุขและลาภยศของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ในเมื่อพระเจ้าอยู่หัวของข้าพระพุทธเจ้ากำลังตกอับซ้ำข้าทั้งห้าของท่านกลับมาช่วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ชิงราชบังลังก์" สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงตรัสตอบไปว่า"ท่านเข้าใจผิด เราตั้งใจไว้ว่าหากเราได้กรุงสุโขทัย เราจะไม่ทำให้กรุงสุโขทัยต้องเดือดร้อน คงให้ดำรงพระยศเป็นกษัตริย์ฝ่ายเหนือตามเดิมแต่รวมอยู่กับอยุธยา" พระยาราชมณฑป จึงกราบทูลต่อไปอีกว่า"จะมีประโยชน์อะไรที่จะต้องอยู่อย่างผู้แพ้ อยู่อย่างประเทศราช ข้าพระพุทธเจ้ารู้พระทัยของพระเจ้ากรุงสุโขทัยดีว่า พระองค์ไม่พึงปรารถนาที่จะให้พระองค์ทรงชุบเลี้ยง ข้าพระพุทธเจ้าขอยืนยันว่าแม้แผ่นดินยังไม่กลบหน้าตราบใดแล้ว ก็ต้องหาทางกอบกู้กรุงสุโขทัยกลับคืนมาจนได้ และเมื่อนั้นเลือดไทยก็ต้องหลั่งกันอีก" พระยาวิเศษสรไกร กล่าวเสริมว่า"ข้าพระพุทธเจ้าขอยืนยันว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่ปู่ย่าตายายมาถึงเจ็ดชั่วโคตร เคยแต่เป็นข้าของพระเจ้ากรุงสุโขทัย ที่จะกลับมาเป็นข้าของอยุธยานั้นอย่าหมาย ชาวเหนือถือเป็นคติประจำสันดานว่าอยู่อย่างผู้แพ้ เมื่อแพ้แล้วอยู่ไปประเส
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 1 ริฐอย่างไรขอให้ประหารข้าพระพุทธเจ้าเสียเถิด" "อ้ายบุญก็เหมือนกัน อย่าต้องให้เป็นหมาสองรางอย่างอ้ายศรีเลย ขอให้พระองค์ชุบเลี้ยงอ้ายหมาหัวเน่าไว้เป็นข้าแต่ตัวเดียวเถิด" สมบุญ ทหารเอกพูดด้วยความโกรธแค้น สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ได้ฟังสมบุญพูดดังนั้นจึงตรัสปลอบว่า "เจ้าสมบุญเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เราไทยด้วยกัน ค่อยพูดค่อยจากัน ออมชอมกันไว้ไม่ดีกว่าหรือ เป็นข้าคนไทยด้วยกันยังดีกว่าเป็นข้าของคนต่างด้าวท้าวต่างแดน แล้วเจ้าจะเอาอย่างไรต่อไป" "อ๋อ ไม่ยาก ข้าพระพุทธเจ้าขออย่างเดียวง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปากเสียอีก คือ ฆ่าพวกข้าพระพุทธเจ้าเสียให้หมด"สมบุญ พูดด้วยใจเด็ดเดี่ยว สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงตรัสต่อไปว่า "เราก็จนใจเมื่อพวกท่านทั้งห้าต้องการเช่นนั้น แต่เราให้พวกท่านเลือกตายตามสมัครใจ" สมบุญ กราบทูลว่า "สำหรับข้าพระพุทธเจ้าสมบุญทหารเอกเมืองพระบางเกิดที่หนองสาหร่าย เกิดที่ไหนก็อยากตายที่นั่นเอาร่างถมแผ่นดินมาตุภูมิ ขอให้เอาข้าพระพุทธเจ้าไปฆ่าเสียที่หนองสาหร่ายเถิดจะเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง" สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงตรัสกับทหารทั้งหลายว่า"ทหารจงดูไว้เป็นเยี่ยงย่างจะหาคนที่ประเสริฐอย่างนี้ได้ยากมาก เพื่อให้ชาวพระบางมีใจระลึกถึงความดีงามและวีรกรรมของเจ้าสมบุญ เราขอประกาศเปลี่ยนชื่อหนองสาหร่ายเสียใหม่ว่า "หนองสมบุญ" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความกล้าหาญของสมบุญทหารเอกแห่งเมืองพระบางทหารพาสมบุญไปได้" เจ้าพระยาอนุมานฯ จึงกราบทูลว่า "ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสี่เป็นศิษย์สำนักเดียวกันต่างอยู่ยงคงกระพันไม่มีทางฆ่าพวกข้าพระพุทธเจ้าได้ ขอได้โปรดนำพวกข้าพระพุทธเจ้าไปกดให้จมน้ำตายที่แม่น้ำหน้าเมืองนี้เถิด" สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เมื่อได้ฟังดังนั้นจึงตรัสว่า "เราเสียดายท่านทั้งสี่ แต่เราก็จนใจในความตั้งใจของท่าน" แล้วจึงสั่งทหารให้นำพระยาทั้งสี่ไปกดน้ำให้จมน้ำตายที่หน้าเมืองพระบางตามความประสงค์ ก่อนตายเจ้าพระยาทั้งสี่ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า "ข้าแต่พระคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่ ณ วังน้ำอันเยือกเย็นนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสี่ได้เกิดมาในลุ่มอกแม่น้ำนี้ ลูกได้อาศัยดื่มกินมาชั่วลูกชั่วหลาน แม่มิได้เคยเหือดแห้ง บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสี่สิ้นวาสนา ขอฝากดวงวิญญาณแห่งชายชาติทหารกรุงสุโขทัยไว้กับพระแม่คงคา ด้วยเดชะความซื่อสัตย์ กตัญญูกตเวทีของข้าฯ ขอให้แม่น้ำสายนี้จงอย่ามีวันใดเหือดแห้งจงเป็นสายธารชีวิตของชาวไทย ได้หล่อเลี้ยงพืชผลแห่งไร่นา พาเอาง้วนดินเหนืออันเกิดจากซากของผู้กล้าหาญ ที่ข้าหลั่งเลือดเนื้อปกป้องปฐพี ไปเป็นอาหารแห่งพืชที่แม่พระคงคาไหลผ่านไป ขอให้ชาวไทยในลุ่มแม่น้ำสายนี้จงวัฒนาสถาพรตลอดชั่วฟ้าดินสลาย" และแล้วแม่น้ำสายนี้ก็ปรากฏชื่อว่า "แม่น้ำเจ้าสี่พระยา" แต่บัดนี้ กาลเวลาได้ผ่านมา 500 ปีเศษ คำว่า "สี่" ก็จางหายไป เหลือแต่ "เจ้าพระยา" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งวีรกรรมในความกล้าหาญและซื่อสัตย์ของเจ้าพระยาทั้งสี่ผู้ครองเมืองหน้าด่านตอนใต้ของสุโขทัย (หมายเหตุ) ตำนานแม่น้ำเจ้าพระยาและหนองสมบุญนี้ นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เป็นผู้ประพันธ์ขึ้น ตามเค้าเรื่องจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ สมุดข่อยดังกล่าวที่วัดเขื่อนแดง ปัจจุบันได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป คัดลอกจาก หนังสือ Study ฉบับ แหล่งท่องเที่ยว ; เส้นทางใหม่ของผู้รักธรรมชาติ (Adventure Magazine)
โดย: เจ้าบ้าน [4 ต.ค. 49 13:20] ( IP A:58.8.123.182 X: )

ความคิดเห็นที่ 2 อีก ตำนานจริง ๆ แล้ว แม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเจ้าพระยา คนไหนเลย แต่มีที่มาจาก ชื่อสถานที่ที่แม่น้ำ สายนั้นไหลผ่านต่างหาก...แต่ก่อน แม่น้ำเจ้าพระยาจะชื่ออะไร ไม่มีหลักฐาน ปรากฏชัดเจน แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเขียนไว้ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาว่า "ที่เราเรียกกันว่า ปากน้ำเจ้าพระยา ทุกวันนี้ แต่โบราณเรียกว่า ปากน้ำพระประแดง ภายหลัง เมื่อแผ่นดิน งอกห่างออกไปไกล เมืองพระประแดง จึงเรียกว่า ปากน้ำบางเจ้าพระยา"ในสนธิสัญญาที่ไทย ได้ทำกับประเทศฝรั่งเศสครั้ง ม.ลาลูแบร์ ในรัชกาลสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช เรียกแม่น้ำสายนี้ว่า "แม่น้ำบางเจ้าพระยา"ส่วน ม.ร.ว. ศึกฤทธิ์ ปราโมช เขียนไว้ในคอลัมน์ "ข้าวไกลนา" หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2520 ว่า "แม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มต้นที่ จุดรวมของ แม่น้ำน่าน และแม่น้ำปิง ที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ไปสิ้นสุดไหลออกทะเล ที่ปากน้ำเมืองสมุทรปราการ ตรงที่แม่น้ำนี้ ไหลออกทะเลนั้น เคยมีชื่อว่า เจ้าพระยา ชื่อตำบลนั้นก็เลยใช้เรียก ชื่อแม่น้ำทั้งสายว่า แม่น้ำเจ้าพระยา เช่นเดียวกับเอาชื่อ ตำบลที่แม่น้ำสายอื่น ๆ ไหลออกสู่ทะเล ไปเป็นชื่อแม่น้ำ เช่น แม่น้ำบางประกง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง เป็นต้น"
โดย: เจ้าบ้าน [4 ต.ค. 49 13:22] ( IP A:58.8.123.182 X: )

ความคิดเห็นที่ 3 อีกตำนานแม่น้ำเจ้าพระยาในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดย อาจารย์ พลาดิศัย สิทธิธัญกิจชื่อ "แม่น้ำเจ้าพระยา" นั้น แต่ก่อนจะเรียกชื่อกันอย่างไรไม่ปรากฏ ในแผนที่เก่า พบแต่คำภาษาอังกฤษว่า แม่น้ำ (Manam River) ซึ่งเขียนตามที่ชาวบ้านเรียกว่า แม่น้ำ (Manam) ไม่มีชื่อแต่ในสนธิสัญญาที่ทำกับฝรั่งเศสครั้ง ม. ลาลูแบร์ ได้เดินทางเข้ามา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้เรียกว่า "แม่น้ำบางเจ้าพระยา" ("บางกระเจ้า" แม่น้ำเจ้าพระยาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้น น่าเชื่อในชั้นต้นก่อนว่าเรียกชื่อ แม่น้ำ (Manam River) เท่านั้น แม่น้ำสายนี้คดเคี้ยวมากเพราะไหลผ่านที่ราบลุ่มที่กว้างใหญ่ ในสมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช พระมหากษัตริย์ กรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้ขุดคลองลัด ลงแผ่นดินที่บริเวณคุ้งน้ำระหว่างบางกอกน้อยและบางกอกใหญ่ ต่อมาสายน้ำ ได้เปลี่ยนทางเดินไหลผ่านคลองลัดที่ขุดจนเซาะตลิ่งกว้างออกไปทุกที คลองนั้น ได้กลายเป็นแม่น้ำ ในปัจจุบันคือส่วนที่เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงที่ไหลข้างพระบรมมหาราชวังด้านท่าราชวรดิษฐ์เดี๋ยวนี้ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ทีไหลผ่านคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ จึงแคบเป็นคลองเล็กๆ ไป แต่ก็คงเป็นแม่น้ำที่ไหลออกมาตามแม่น้ำสายเดิมออกสู่ทะเล บริเวณปากน้ำบางเจ้าพระยา ซึ่งเป็นชื่อตำบลหนึ่งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ และเป็นที่มาของชื่อแม่น้ำ "แม่น้ำเจ้าพระยา" ต้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลปากน้ำโพ หรือจังหวัดนครสวรรค์ปัจจุบันนี้ สมัยกรุงศรีอยุธยา นับว่าเป็นชุมชนใหญ่ สำหรับหัวเมืองทางฝ่ายเหนือ ลงมาติดต่อค้าขายพ่อค้าชาวต่างชาติ หรือจากเมืองหลวง ดังนั้น แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนจึงมีตลาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางการค้าขาย ระห่วางเมืองนครสวรรค์กับเมืองสำคัญทางฝ่ายเหนือ เช่น จังหวัดตาก กำแพงเพชร เชียงใหม่ พ่อค้าที่ไปมาค้าขายที่มาจากทางเหนือนั้นจะถูก เรียกว่า พวกลาว จึงทำให้ตลาดนี้เรียกว่า ตลาดลาว มีสินค้าที่ส่งมาขายคือ ไม้สักและของป่า เช่น หวาย ชัน น้ำมันยาง สีเสียด เปลือกไม้ น้ำผึ้ง สีผึ้ง เป็นต้น มาขายกับพ่อค้าในเมือง แล้วขากลับจะซื้อข้าวและเกลือกลับขึ้นไป ตลาดลาวนี้มีพวกมอญเข้ามาค้าขายโอ่งด้วย ส่วนตลาดที่ขายข้าว ในเขตอำเภอโกรกพระ เรียก ตลาดท่าชุบ ใช้ติดต่อกับเมืองต่างๆ โดยรอบ เช่น พิจิตร ตาก กำแพงเพชร เป็นต้น ตลาดนี้จะมีพ่อค้าคนจีนคอยรับซื้อข้าว และลงเรือไปขายที่เมืองกรุง ด้วยเรือกระแชงขนาดใหญ่ ขากลับเรือจะบรรทุกเกลือ และมะพร้าว น้ำตาลปีบ ขึ้นมาขายกันที่ตลาดนี้ต่อไป และอีกตลาดหนึ่ง คือตลาดสะพานดำ เป็นตลาดที่ใช้ติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างหมู่บ้านต่างอำเภอในเขตอำเภอโกรกพระ พยุหะคีรี บรรพตพิสัย โดยมี ข้าว สัตว์ป่า และของป่า เช่น หวาย เปลือกสีเสียด เป็นต้น เป็นสินค้า ซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เมืองนครสวรรค์จึงเป็นชุมชนใหญ่จากพ่อค้าหัวเมืองต่าง ๆ เข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ต่อกัน โดยเฉพาะการค้าไม้สักและของป่า เป็นสินค้าหลักเช่นเดียวกับข้าว ในขณะที่ข้าวเปลือกได้ถูกขนลงเรือสำปั้นนับร้อยลำ ไม้ซุงจำนวนนับร้อยท่อนก็ถูกผูกเป็นแพ อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อล่องลงไปขายยังกรุงเทพฯ ในสมัยรัตนโกสินทร์เช่นเดียว กับสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองต่างๆ ทางเมืองเหนือก็มักจะส่งสินค้า ข้าว ไม้สัก กระวาน กานพลู ดินขี้ค้างคาวสำหรับทำดินปืนส่งกรุงศรีอยุธยาเช่นกันบริเวณที่ราบแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นที่ราบกว้างใหญ่ แบ่งย่อยออกเป็นสองตอน คือ ตอนเหนือในลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน และตอนใต้ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำบางประกง แผ่นดินของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งหมดนั้น ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนากว้างใหญ่มีคลองที่ขุดต่อนื่องกันอยู่มากมาย เวลาหน้าน้ำหลากจนท่วมพื้นดิน ก็จะนำน้ำท่วมทุ่งนาเจิ่งและพัดพาเอาดินเลน ที่มีปุ๋ยเป็นตะกอนมาให้พื้นดิน ทำให้พื้นที่ราบทั้งหมดมีปุ๋ยเหมาะสมกับการทำนา ปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ ถือเป็นแหล่งที่ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทย ส่วนที่เป็นปากแม่น้ำที่อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยานั้น จะเกิดมีดินดอนสามเหลี่ยมต่อเนื่อง เป็นอันเดียวกัน เกิดเกาะน้อยใหญ่เป็นระยะ ๆ ทำให้เกิดปรากฏการณ์แผ่นดินน้ำไหล ทรายมูลในแม่น้ำสายใหญ่ และด้วยเหตุที่แม่น้ำเจ้าพระยานั้นไหลคดเคี้ยวไปมา จนเกิดพื้นที่เกาะขนาดใหญ่ได้กลายเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยมีแม่น้ำล้อมรอบ และพื้นที่เกาะนั้นได้ตั้งราชธานี คือ กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ การตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองของคนสยามหรือคนไทยนั้น ได้มีความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์ต่อภูมิประเทศที่มีแม่น้ำลำคลองหลายสายหลายแคว ซึ่งเป็นแหล่งมีปลา และไหลผ่านลงสู่ทะเล ทำให้พื้นที่อุดมสมบรูณ์ด้วยเรือกสวนไร่นา ซึ่งมีข้าว และพืชพันธ์ธัญญาหารเพาะปลูกได้มากมายหลายชนิด จนมีคำกล่าวว่า "ในน้ำมีปลาในนามีข้าว" และแม่น้ำนั้นจะเป็นเส้นทางที
โดย: [0 3] ( IP )

ความคิดเห็นที่ 4 ่ผู้คนได้ใช้อาศัยสัญจรไปมา ติดต่อกันได้โดยสะดวก โดยใช้เรือเป็นพาหนะ ดังนั้น คนไทยจึงได้ตั้งบ้านเมือง เป็นหลักแหล่งอยู่ริมแม่น้ำลำคลองเมืองใหญ่ และราชธานีของอาณาจักรต่าง ๆ ได้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทั้งสิ้น เช่น กรุงสุโขทัย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม นครพิงค์หรือเชียงใหม่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ก็ได้สร้างเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นเดียวกัน อาชีพเกษตรกรรมของคนไทยนั้น ได้อาศัยน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและลำคลองต่าง ๆ เข้าไปช่วยการทำนา รู้จักสร้างระหัดวิดน้ำหรือหาวิธีนำน้ำจำนวนมาก จากแม่น้ำให้ไหลเข้าสู่ท้องนานับพันไร่พื้นที่นาจะขุด ดินยกขันทำเป็นขอบกั้น ให้น้ำคงอยู่เลี้ยงต้นข้าว การพลิกพรวนดินได้ใช้แรงควายลากไถ อันเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำนาปลูกข้าว ซึ่งคนไทยได้เรียนรู้การเพาะต้นกล้า สำหรับนำลงไปปลูกเรียงกันในพื้นที่นาอย่างมีระเบียบ การเติบโตของต้นข้าวนั้น ต้องอาศัยน้ำหล่อเลี้ยงให้ข้าวออกรวง และให้มีเมล็ดข้าวสีทองจำนวนมากมาย แม้ว่าในปัจจุบันนี้จะมีการเพาะปลูกพืชไร่อย่างอื่น เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ถั่วเหลือง เป็นต้น การทำนาปลูกข้าวยังเป็นความชำนาญและอาชีพหลักของคนไทย
โดย: เจ้าบ้าน [4 ต.ค. 49 13:24] ( IP A:58.8.123.182 X: )

ความคิดเห็นที่ 5 แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 372 กม. เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำ ลำน้ำ หลายสาย แต่มีสายหลัก ๆ ดังนี้ 1. แม่น้ำปิง เกิดระหว่างเทือกเขาถนนธงชัยตอนกลาง กับเทือกเขาผีปันน้ำตอนตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย ในเทือกเขาแดนลาว ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว เชียงใหม่ 2. แม่น้ำวัง เกิดในเทือกเขา จังหวัดลำปาง ระยะทาง 382 กม. ไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ จ.ตาก 3. แม่น้ำน่าน เกิดจากดอยภูแว ในเทือกเขาหลวงพระบาง(กั้นไทย-ลาว) อ.ปัว น่าน ระยะทาง 615 กม 4. แม่น้ำยม เกิดจากสันเขาผีปันน้ำ อ.ปง พะเยา ระยะ 170 กม. ไปรวมกับแม่น้ำน่าน ที่ อ.ชุมแสง นครสวรรค์
โดย: เจ้าบ้าน [4 ต.ค. 49 13:25] ( IP A:58.8.123.182 X: )

ความคิดเห็นที่ 6 แม่น้ำเจ้าพระยา ได้ชื่อว่า แม่น้ำแห่งราชอาณาจักร 1.ราชอาณาจักรอยุธยา ,2.กรุงธนบุรี ,3.กรุงรัตนโกสินทร์แม่น้ำเจ้าพระยา การเปลี่ยนแปลงแห่งสายน้ำ จนได้สมญานามลำน้ำกษัรติย์ (The River of The King)พ.ศ.2088 สมเด็จพระชัยราชา ทรงโปรดให้ขุดคลองบางกอกน้อย ไปถึงคลองบางกอกใหญ่ พ.ศ.2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โปรดให้ขุดคลองบางกอกน้อย เชื่อมกับ แม่น้ำเจ้าพระยา (คลองบางกรวย) พ.ศ.2179 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดให้ขุดคลองลัดจากวัดท้ายเมืองไปออกวัดเขมา (แม่น้ำปัจจุบัน) พ.ศ.2264 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ โปรดให้ขุดคลองลัดเก็ด (คลองลัดเกร็ด เกิดเกาะเกร็ด)
โดย: เจ้าบ้าน [4 ต.ค. 49 13:26] ( IP A:58.8.123.182 X: )

ความคิดเห็นที่ 7 แล้วแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดใดบ้างจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และไหลลงสู่ปากอ่าวไทย ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีความยาวประมาณ 372 กิโลเมตร
3.ให้บอกแห่ลงน้ำที่สำคัญของภาคเหนือ
พื้นที่น้ำถูกบุกรุกมานานและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายพื้นที่ ไม่ใช่แค่ในเมืองเท่านั้น ตลอดสายแม่น้ำปิง และไม่ใช่แค่พวกโรงแรม ร้านอาหาร บ้านพักตากอากาศของเอกชนเท่านั้น หน่วยงานราชการก็เช่นกัน ต่างบุกรุกแม่ปิง สร้างอาคารสถานที่เพื่อหวังอยู่ริมน้ำ ได้บรรยากาศที่ดี และถึงขั้นเปลี่ยนทิศทางน้ำ การพยายามบังคับการไหลของน้ำ เช่นการขุดแม่น้ำปิง ขุดเพื่อให้ลึก และเพื่อใช้งบประมาณ เพื่อเอาดินทรายมาขาย หรือขุดเพื่อให้น้ำไหลได้สะดวกมีพื้นที่เก็บน้ำมากขึ้น ผู้รู้ทั้งนักวิชาการในมหาวิทยาลัย และปราชญ์ชาวบ้านผู้อยู่กับสายน้ำมานานต่างบอกว่า การขุดแม่ปิงให้ลึกไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไรมากนัก โดยเฉพาะการแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่เพราะต้องขุดกันทุกปี ใช้งบประมาณสูง และการขุดจะทำให้ตลิ่งพังด้วย
การแก้ปัญหาน้ำท่วม มีการนำเสนอหลายอย่างในส่วนภาคประชาชน นอกเหนือจากการแก้ปัญหาการบุกรุกแม่น้ำปิง หรือคืนพื้นที่ให้สายน้ำแล้ว ยังมีการทำท่อระบายน้ำใหม่ เป็นท่อเปิดไม่ใช่ท่อปิดที่เมื่อมีอะไรเข้าไปขวางไปติดอยู่ก็มองไม่เห็นช่วยรื้อช่วยเขี่ยออกไม่ได้ และท่อต้องมีขนาดใหญ่พอ

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

อวัยวะภายใน

ฉบับที่แล้วผู้เขียนได้กล่าวถึง “ลิ้นบอกโรค” และได้กล่าวถึงทฤษฎีการแพทย์จีนที่กล่าวถึงเส้นลมปราณ ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงอวัยวะภายในต่างๆเข้าด้วยกัน และยังเชื่อมอวัยวะภายในและภายนอกเข้าด้วยกัน
ในยุคที่แพทย์ตะวันตกเริ่มสนใจและทำการศึกษาการแพทย์จีน ชาวตะวันตกพยายามค้นหาคำตอบและพิสูจน์อยู่ตลอดเวลาว่า ทฤษฎีการแพทย์จีนถูกต้องและเป็นไปได้เพียงใดก่อนที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงเรื่องการดูลักษณะร่างกายเพื่อบอกโรคในฉบับนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องให้ท่านผู้อ่านเข้าใจถึงเรื่องภาพจำลองย่อส่วนของร่างกายมนุษย์ ซึ่งเป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) สมัยใหม่ และนักวิทยาศาสตร์จีนสามารถเชื่อมต่อกับทฤษฎีแพทย์จีนได้อย่างลงตัว มีข้อมูลทางด้านคลินิกตั้งแต่ยุคโบราณของการแพทย์จีนเป็นฐานสนับสนุนนับตั้งแต่ D.Gabor นักฟิสิกส์ชาวฮังการีได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับ Holography ขึ้นในปี ค.ศ.1948 และเขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีค.ศ.1971 ทำให้มนุษย์สามารถสร้างภาพ Hologram (ภาพ 3 มิติ) ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์ขึ้นในปีค.ศ.1986 นักวิทยาศาสตร์จีนชื่อจางอิ่งชิงได้เสนอทฤษฎี Holographic biology ขึ้น หลังจากที่เขาได้ทำการศึกษา (ตั้งแต่ ค.ศ.1972) และพบว่ากระดูกฝ่ามือนิ้วชี้ (ภาพที่ 1)

http://www.doctor.or.th/node/3666

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาของลูกเสือโลก
ผู้ให้กำเนิดกระบวนการลูกเสือ ประมุขคณะลูกเสือโลกบี.พี.เมื่อเป็นเด็ก บี.พี. ในอินเดีย การรบในแอฟริกา การล้อมเมืองมาฟอีคิง (The siege of mafeking) กำเนิดของการลูกเสือ หนังสือ Scouting for Boys ชีวิตที่สองของ บี.พี. ความเป็นพี่น้องทั่วโลก ( World Brotherhood ) บั่นปลายชีวิต
ผู้ให้กำเนิดกระบวนการลูกเสือ ประมุขคณะลูกเสือโลก
ถ้าท่านต้องการเข้าใจเรื่องลูกเสือโดยตลอด ท่านจำเป็นต้องรู้เรื่องราวบางอย่างเกี่ยวกับคนที่ได้ให้กำเนิดกระบวนการลูกเสือ ซึ่งเป็นคนของเด็กโดยแท้จริงผู้หนึ่งซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ ท่านผู้นี้คือ ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ แห่งกิลเวลล์ ประมุขคณะลูกเสือโลก ซึ่งบรรดาลูกเสือพากันเรียกชื่อท่านด้วยความรักว่า "B.-P."
โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden - Powell) เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1857 ตรงกับวันที่พวกอเมริกันฉลองวันเกิดของยอร์ช วอชิงตัน อายุครบรอบร้อยปี บิดาของท่านชื่อ Reverend H.G. Beden-Powell เป็นศาสตราจารย์ที่ออกซ์ฟอร์ด มารดาของท่านเป็นธิดาของพลเรือเอกดับ ที. สไมธ์ (W.T. Smyth) แห่งราชนาวีอังกฤษ ทวดของท่านคือ โจเซฟ บรูเออร์ สไมธ์ (Joseph Brewer Smyth) ได้อพยพไปอยู่อเมริกา ในนิวเจอร์ซี่แกต่ได้เดินทางกลับไปอังกฤษและเรือแตกในระหว่างที่เดินทางกลับถึงบ้าน ฉะนั้นเบเดน-โพเอลล์ จึงเป็นผู้สืบสันดานผู้ที่เป็นพระสายหนึ่ง และของผู้อพยพที่กล้าผจญภัยในโลกใหม่อีกสายหนึ่ง
บี.พี.เมื่อเป็นเด็ก
บิดาของ บี.พี.ถึงแก่กรรมเมื่อ บี.พี.มีอายุประมาณ 3 ปี ทิ้งมารดาของ บี.พี. ไว้พร้อมด้วยบุตร 7 คน ซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบสี่ปี มักจะมีเวลาเดือนร้อยบ่อยๆ สำหรับครอบครัวใหญ่นั้นแต่ความรักร่วมกันของมารดาที่มีต่อบุตร และของบุตรที่มีต่อมารดาได้ทำให้ครอบครัวนี้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคไปได้ บี.พี.ได้ดำรงชีวิตกลางแจ้งอย่างสนุกสนานกับพี่น้องสี่คนของเขา โดยได้เดินทางไกลและไปพักแรมร่วมกันตามที่ต่างๆ ในประเทศอังกฤษหลายแห่ง ในปี ค.ศ. 1870 บี.พี. ได้เข้าเรียนในโรงเรียนชาร์ตเตอร์เฮาส์ในกรุงลอนดอน โดยได้รับทุนเล่าเรียน ท่านไม่ใช่คนเก่งทางหนังสือมากนัก แต่ทานก็เป็นคนที่สนุกสนานที่สุดคนหนึ่ง เมื่อมีอะไรในสนามของโรงเรียน ท่านจะอยู่ในกลุ่มนั้นเสมอ และในไม่ช้าก็เป็นที่รู้จักกันว่าท่านเป็นผู้รักษาประตูฝีมือดีในชุดฟุตบอลของโรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์ ความสามารถของท่านในทางละครได้รับความนิยมจากเพื่อนนักเรียนเป็นอันมาก เมื่อได้รับคำเรียกร้องท่านก็สามารถเสนอการแสดงซึ่งทำให้คนทั้งโรงเรียนหัวเราะกันจนท้องคัดท้องแข็ง เล่ห์เหลี่ยมการซุ่มตามจับสัตว์ซึ่ง บี.พี.ได้ฝึกฝนทีในป่ารอบๆ โรงเรียนชาร์เตอร์เฮาส์กลายเป็นคุณประโยชน์แก่เขาที่ในอินเดีย และแอฟริกา ท่านชอบดนตรีด้วย และคุณสมบัติพิเศษของท่านในการเขียนภาพร่าง ทำให้ท่านสามารถเขียนภาพประกอบหนังสือของท่านเองในภายหลัง
http://www.holy.ac.th/holy/website/BP.htm

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

พุทธสุภาษิต - พุทธศาสนสุภาษิต สุภาษิต แปลว่า ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี, ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม
เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์) ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น


วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552


สัญลักษณ์แห่งพระรัตนตรัยที่ถ่ายทอดศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม อันแสดงออกถึงความเคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน อันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ

http://www.watpaknam.net/

ระเบียบแถว

พิธีการสวนสนามและกล่าวคำปฎิณาญของคณะลูกเสือ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปณาคณะลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม
การสวนสนามและกล่าวคำปฎิญาณของลูกเสือ
วันที่ ๑ กรกฎาคม ของทุกปี ถือว่าเป็นวันคล้ายวันสถาปณาคณะลูกเสือแห่งชาติ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระองค์ได้ทรงสถาปณากิจการลูกเสือไทยขึ้นเป็นครั้ง แรก เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ทางคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ จึงได้ถือเอา วันที่ ๑ กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันที่ ลูกเสือทุกคนทุกประเภท จะต้องแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน โดยการกล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือเฉพาะพระพักต์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือตัวแทนพระองค์ หรือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกระทำพิธีสวนสนาม ซึ่งมีขั้นตอนและพิธีปฎิบัติดังนี้
พิธีการนี้เป็นการจัดในระดับอำเภอหรือที่โรงเรียนซึ่งไม่มีธงคณะลูกเสือแห่งชาติหรือธงลูกเสือประจำจังหวัด
การจัดเตรียมสถานที่
๑.ในการจัดพิธีภายในจังหวัดให้นำธงลูกเสือประจำจังหวัดอัญเชิญโดยกองลูกเสือเกียรติยศมาประจำแท่นที่เตรียมเพื่อรับการเคารพ
๒.เครื่องหมายหรือธงที่จะแสดงจุดที่จะให้ลูกเสือแสดงความเคารพ จะมี ๓ จุด คือ
ธงที่ ๑ ธงเตรียมทำเคารพอยู่ห่างจากผู้รับการเคารพไปทางซ้ายมือของผู้รับการเคารพ ๒๐ ก้าว
ธงที่ ๒ ธงเริ่มทำความเคารพอยู่ห่างจากผู้รับการเคารพไปทางซ้ายมือของผู้รับการเคารพ ๑๐ ก้าว
ธงที่ ๓ ธงเลิกทำความเคารพอยู่ถัดจากผู้รับการเคารพไปทางขวามือของผู้รับการเคารพ ๑๐ ก้าว
ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่จะเข้าร่วมพิธีสวนสนาม
๑.ประธานในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง กางเกงขาสั้น ซึ่งประธานถ สำหรับพิธีในจังหวัดจะได้แก่ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด หรือรองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด ประธานในพิธีสำหรับอำเภอ ได้แก่ ผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอหรือรองผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ
๒.แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือกางเกงขาสั้นตามตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง
๓.ผู้กำกับกองลูกเสือและรองผู้กำกับกองลูกเสือแต่งเครื่องแบบลูกเสือกางเกงขาสั้นตามประเภทของลูกเสือที่ตนทำหน้าที่เป็นผู้กำกับกองและรองผู้กำกับกอง ถ้าเป็นลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือวิสามัญ จะต้องมีไม้ถือของลูกเสือตามประเภทของลูกเสือ ส่วนลูกเสือสำรองไม่ต้องมีไม้ถือ
๔.ลูกเสือแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามประเภทของตน ลูกเสือสามัญ มีไม้พลอง นายหมู่มีธงหมู่ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่และลูกเสือวิสามัญ มีไม้ง่าม นายหมู่มีธงหมู่ ลูกเสือสำรองไม่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม
๕.ลูกเสือผู้ทำหน้าที่ถือป้ายกองลูกเสือ ๑ คน แต่งเครื่องแบบตามประเภทที่ตนสังกัด
๖.ลูกเสือผู้ทำหน้าที่ ถือธงประจำกองลูกเสือ ๑ คน แต่งเครื่องแบบตามประเภทที่ตนสังกัด
๗.ลูกเสือ ๑ กองจะประกอบด้วยลูกเสือ ๖ - ๘ หมู่ หมู่ ๑ประกอบด้วยลูกเสือ ๗ - ๘ คน
๘.ผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คนและรองผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ต่อลูกเสือ ๑ กอง
๙.วงดุริยางค์ที่ร่วมในพิธีแต่งเครื่องแบบลูกเสือตามประเภทที่ตนสังกัด
๑๐.ลูกเสือชาวบ้านแต่งชุดปกติสวมผ้าผูกคอลูกเสือชาวบ้านติดเครื่องหมายคณะลูกเสือแห่งชาติ
การเตรียมแถวและรูปขบวนเพื่อทำพิธีสวนสนาม
๑.ลูกเสือที่ทำหน้าที่ถือป้ายชื่อกองลูกเสือยืนอยู่ด้านหน้าสุด
๒.ลูกเสือที่ทำหน้าที่ถือธงประจำกองลูกเสือยืนห่างจากผู้ถือป้ายกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๓.ผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ยืนห่างจากผู้ถือธงประจำกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๔.รองผู้กำกับกองลูกเสือ ๑ คน ยืนห่างจากผู้กำกับกองลูกเสือ ๕ ก้าว
๕.ลูกเสือจัดแถวหน้ากระดานหมู่ปิดระยะ นายหมู่อยู่ทางขวามือ ห่างจากรองผู้กำกับฯ ๓ ก้าว
๖.ระยะห่างระหว่างหมู่ ๑ ก้าว
๗.ลูกเสือแต่ละกองจะมีผู้กำกับฯ ๑ คน และรองผู้กำกับฯ ๑ คน ยืนต่อกันไปด้านหลังจากกองที่ ๑
๘.กองลูกเสือของแต่ละโรงเรียนจะยืนเรียงกันไป ระยะห่างระหว่างกอง ๕ ก้าว
๙.แถวกองผสม ซึ่งหมายถึงผู้กำกับฯที่มาร่วมพิธีและไม่ได้ประจำกองลูกเสือ จัดแถวหน้ากระดาน เรียง ๘ โดยมีผู้บังคับขบวนสวนสนามยืนตรงกลางหน้าสุด เมื่อเริ่มเดินสวนสนาม
๑๐.แท่นรับความเคารพและพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ตรงหน้าแถวลูกเสือทั้งหมด
การเริ่มพิธีสวนสนามและกล่าวคำปฎิญาณของลูกเสือ
๑.กองลูกเสือตั้งแถวตามที่กำหนดไว้ ยืนอยู่ในท่าตามระเบียบพัก
๒.กองผสมตั้งแถวอยู่ที่หัวขบวน
๓.ผู้บังคับขบวนสวนสนามยืนประจำที่เตรียมพร้อมที่จะกล่าวรายงานต่อประธานในพิธี
๔.แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมพิธีตั้งแถวรอรับประธาน
๕.เมื่อถึงเวลาประธานในพิธีมาถึงบริเวณพิธี ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมดตรง" "เคารพประธานในพิธี (ตรงหน้า-,ทางขวา,ทางซ้าย-ระวัง) " "วันทยาวุธ" ลูกเสือทุกคนทำความเคารพ ผู้ที่มีไม้พลอง ไม้ง่าม ทำวันทยาวุธ ผู้กำกับลูกเสือทำความเคารพด้วยท่าไม้ถือ แขกผู้มีเกียรติ และผู้ที่ไม่มีไม้ถือให้ทำวันทยาหัตถ์ ลูกเสือสำรองยืนในท่าตรงไม่ต้องทำ วันทยาหัตถ์ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ผู้ที่ถือธงทำความเคารพด้วยท่าธง ผู้ถือป้าย ยืนตรงไม่ต้องทำวันทยาหัตถ์ประธานในพิธีและผู้ติดตามที่แต่งเครื่องแบบลูกเสือรับความเคารพ ด้วยการทำวันทยาหัตถ์ จนจบเพลงหมาฤกษ์
๖.เมื่อวงดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์จบ ผู้บังคับขบวนสวนสนามวิ่งไปรายงานจำนวนผู้บังคับบัญชา ลูกเสือและจำนวนลูกเสือที่มาร่วมในพิธีและเชิญประธานตรวจพลสวนสนามและเดินตามประธานตรวจพล พร้อมผู้ติดตาม ในขณะนั้นทุกคนทำวันทยาวุทธและท่าตรง เมื่อประธานเดินผ่านกองลูกเสือใดให้ผู้ถือธง ประจำกองลูกเสือทำความเคารพด้วยท่าเคารพธง จนตรวจครบทุกกองผู้บังคับขบวนสวนสนามส่งประธาน ประจำที่และกลับประจำที่เดิมสั่ง " เรียบ-อาวุธ " ทุกคนปฎิบัติตาม
๗.ตัวแทนลูกเสือกล่าวรายงานกิจการลูกเสือในรอบปี หรือถ้ามีลูกเสือได้รับเครื่องหมายลูกเสือสรรถ เสริญหรือเหรียญสดุดีลูกเสือหรือได้รับเครื่องหมายวูดแบด ก็อาจจะทำพิธีมอบในเวลานี้
๘.ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือสำรองเตรียมกล่าวปฎิญาณ - ตามข้าพเจ้า -แสดงรหัส" ทุกคนแสดงรหัสลูกเสือสำรองแสดงรหัสลูกเสือสำรอง ด้วยการทำวันทยาหัตถ์ ๒ นิ้ว ลูกเสืออื่น และผู้อยู่ในบริเวณพิธีแสดงรหัสลูกเสือ ๓ นิ้ว ไม่ต้องกล่าวตาม ลูกเสือสำรองกล่าวตาม
" ข้าสัญญาว่า"
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน
เมื่อกล่าวจบ ผู้บังคับขบวนสนามสั่ง " ลูกเสือสามัญ -ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ๋-ลูกเสือวิสามัญ-ลูกเสือ ชาวบ้าน-กล่าวคำปฎิญาณตามข้าพเจ้า" ทุกคนยังแสดงหรัสอยู่และกล่าวคำปฎิญาณตาม ส่วนลูก เสือสำรองยืนในท่าตรง ไม่ต้องกล่าว
" ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า"
ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ ๒ ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ ๓ ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
เมื่อกล่าวจบ ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง " เอามือลง - ตามระเบียบพัก " ในการแสดงรหัสของลูกเสือที่ถือไม้พลองหรือไม้ง่าม ให้เอาไม้ง่ามหรือไม้พลองพิงไว้ที่ไหล่ซ้ายโคนไม้ อยู่ระหว่างปลายเท้าทั้ง ๒ แขนซ้ายงอตั้งฉาก มือขวาแสดงหรัส ผู้ที่ถือธงก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ที่ถือไม้ง่าม หรือไม้พลอง ผู้ที่ถือป้านให้ถือป้ายด้วยมือซ้ายมือขวาแสดงรหัส ผู้กำกับที่มีไม้ถือก็แสดงรหัสด้วยมือขวา มือซ้ายถือไม้ถือ ลูกเสือหรือผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ไม่มีไม้ถือ ก็ให้ยืนตรงแสดงรหัสด้วยมือขวา
๙.เมื่อกล่าวคำปฏิญาณจบประธานให้โอวาท เมื่อจบแล้ว ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมดตรง" "เตรียมสวนสนาม" หากมีแตรเดี่ยว แตรเดี่ยวก็จะวิ่งมาตรงหน้าประธานและเป่าแตรเตรียมสวนสนาม เมื่อแตรเป่าจบผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ขวาหัน" ดุริยางบรรเลงเพลงเดินสวนสนาม เช่น เพลงสยามมานุสติ ผู้บังคับขบวนสวนสนามวิ่งไปยืนหน้ากองผสม สั่ง "กองผสม-หน้าเดิน" เมื่อเดินผ่านประธานแล้วให้วิ่งไปยืนทางด้านข้างประธานในท่าวันทยาวุทธ ส่วนกองผสมเดินผ่านไปแล้วเข้าประจำที่เดิม
๑๐.สำหรับกองลูกเสือแต่ละกองเมื่อพร้อมแล้ว รองผู้กำกับฯของแต่ละกองสั่ง "แบกอาวุธ" "หน้าเดิน
๑๑.เมื่อผู้กำกับกองลูกเสือเดินผ่านธงที่ ๑ ให้อยู่ในท่าบ่าอาวุธ ผ่านธงที่ ๒ ให้ทำความเคารพ ผ่านธงที่ ๓ ให้เลิกทำความเคารพ
๑๒.เมื่อรองผู้กำกับกองลูกเสือผ่านธงที่ ๑ ให้สั่ง "ระวัง" และอยู่ในท่าบ่าอาวุธ เมื่อผ่านธงที่ ๒ ให้สั่ง "แลขวาทำ" ตัวรองผู้กำกับก็ทำความเคารพ เมื่อผ่านธงที่ ๓ ก็ให้เลิกทำความเคารพ
๑๓.กองลูกเสือเมื่อรองผู้กำกับสั่ง "แบกอาวุธ"ก็แบกอาวุธและหน้าเดิน เมื่อได้ยินรองผู้กำกับฯสั่ง "ระวัง" ทุกคนก็เตรียมตัวทำความเคารพ เมื่อรองผู้กำกับฯสั่ง "แลขวาทำ " ทุกคนสลัดหน้าไปทางขวายกเว้น นายหมู่ให้หน้ามองตรง แขนแกว่งปกติทุกคน ทั้งนี้ให้เริ่มทำเมื่อได้ยินคำสั่งไม่ต้องรอให้ถึงธงที่ ๒ และเมื่อเดินถึงธงที่ ๓ ให้เลิกทำเองโดยไม่ต้องรอคำสั่ง ๑๔.สำหรับลูกเสือสำรองซึ่งไม่มีไม้พลองหรือไม้ง่าม เมื่อได้ยินคำสั่ง "ระวัง"ก็เดินปกติ เมื่อได้ยินคำ สั่ง "แลขวา-ทำ" ก็สลัดหน้าไปทางขวายกเว้นนายหมู่หน้ามองตรงไปข้างหน้า แขนทั้ง ๒ ข้างแนบลำตัวไม่ต้องทำวันทยาหัตถ์ เมื่อผ่านธงที่ ๓ ก็เดินแกว่งแขนปกติไม่ต้องรอคำสั่ง
๑๕.เมื่อลูกเสือทุกกองเดินผ่านประธานครบแล้วก็เดินกลับประจำที่เดิมรอส่งประธาน
๑๖.ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "ลูกเสือทั้งหมด-ตรง" "เคารพประธาน-ตรงหน้าระวัง " "วันทยาวุธ" ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์ ทุกคนทำความเคารพเหมือนเมื่อตอนที่ประธานมา
๑๗.เมื่อวงดุริยางค์บรรเลงจบ ประธานกลับ ผู้บังคับขบวนสวนสนามสั่ง "เรียบ - อาวุธ" "เลิกแถว" เป็นอันเสร็จพิธี หลังจากนั้นอาจจะมีกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือแต่ละกอง
การทำความเคารพของผู้ถือธงประจำกองลูกเสือ
ขณะอยู่กับที่
ให้ถือธงด้วยมือขวา โคนคันธงจดพื้นและแนบกับลำตัว แขนซ้ายแนบลำตัวอยู่ในท่าตรง เมื่อได้ยินคำสั่งให้ทำความเคารพ ใช้มือซ้ายจับคันธงเหนือมือขวาและยกคันธงขึ้นมาด้วยมือซ้ายมือขวาจับคันธงเหยียดถ ตรงแนบลำตัว ยกคันธงขึ้นมาจนแขนซ้ายเสมอบ่าขวา ข้อศอกซ้ายตั้งได้ฉาก ครั้นแล้วทำกึ่งขวาหัน ลดปลายธงลงข้างหน้าช้าๆ จนคันธงขนานกับพื้น มือซ้ายอยู่เสมอแนวบ่าห่างจากตัวพอสมควร มือขวาจับโคนคันธงแขน เหยียดตรงไปทางด้านหลังตามแนวคันธง แล้วค่อยๆยกคันธงขึ้นช้าๆ จนคันธงตั้งตรง ทำกึ่งซ้ายหัน ใช้มือซ้ายจับคันธงลดลงมา จนมือซ้ายชิดมือขวา โค่นคันธงจดพื้น สลัดมือซ้ายกลับอยู่ในท่าตรง ท่าตามระเบียบพักก็ยืนเหมือนกับที่ตรง เพียงหย่อนเข่าซ้ายหรือขวาเล็กน้อย
ขณะเดิน
เมื่อได้ยินคำสั่งให้สวนสนามและแบกอาวุธให้ใช้มือซ้ายจับคันธงเหนือมือขวาแล้วชิดมือขวายกคันธงขึ้นมา ด้วยมือซ้ายมือขวาเจับคันธงเหยียดตรงแนบลำตัว ยกคันธงขึ้มาจนแขนซ้ายเสมอบ่าขวาข้อศอกซ้ายตั้ง ได้ฉากปล่อยมือซ้ายกลับลงที่เดิม งอข้อศอกขวา ๙๐ องศา คันธงอยู่บนบ่าขวา อยู่ในท่าแบกอาวุธ เมื่อเดิน ถึงธงที่ ๑ (ธงระวัง) ให้ลดธงลง จากบ่ามาแนบลำตัว มือซ้ายจับคันธงข้อศอกงอตั้งฉากขนานกับพื้นแขนขวาเหยียดตรงข้าลลำตัว ปลายธงชี้ ตรง เมื่อถึงธงที่ ๒ (ธงทำความเคารพ) ให้เหยียดแขนซ้ายตรงไปข้างหน้ากำคันธงไว้ ให้คันธงเอนออกไปข้างหน้า ประมาณ ๔๕ องศา แขนขวาเหยียดตรงแนบข้างลำตัว ตาแลตรงไปข้างหน้า เมื่อถึงธงที่ ๓ (ธงเลิกทำความเคารพ) ให้ดึงธงขึ้นมาอยู่ในท่าตรงสลัดแขนซ้ายกลับที่เดิมงอข้อศอกขวาคันธงอยู่บนบ่าขวาอยู่ในท่าแบกอาวุธเดินไปตามปกติ โอกาสที่จะทำความเคารพจะทำเมื่อ มีการบรรเลงเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์เพลงมหาชัย เพลงสรรเสริญเสือป่า เมื่อธงคณะลูกเสือแห่งชาติ ธงลูกเสือจังหวัดที่เชิญผ่านไป องค์พระ ประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ประธานในพิธีการลูกเสือที่แต่งเครื่องแบบ
การทำความเคารพของผู้ถือป้ายประจำกองลูกเสือ
ขณะอยู่กับที่
ให้ถือป้ายโดยใช้มือขวากำคันป้ายชิดกับแผ่นป้ายมือซ้ายกำต่อจากมือขวา โคนป้ายอยู่ระหว่างปลายเท้าทั้งสอง เมื่อได้ยินคำสั่งให้ทำความเคารพก็ยืนในท่าตรงปกติมืออยู่ที่เดิม เมื่อได้ยินคำสั่งให้แบกอาวุธ ให้ ปล่อยมือขวาลงมือซ้ายยกป้ายไปไว้ที่รองไหล่ขวา มือขวาจับที่โคนคันป้าย แขนซ้ายงอขนานกับพื้น แขนขวา เหยีดตรง แผ่นป้ายอยู่เหนือศรีษะเล็กน้อย
ขณะเดิน
เดินถือป้ายในท่าแบกอาวุธ หน้ามองตรง เมื่อเดินก่อนถึงธงที่ ๑ ประมาณ ๒๐ ก้าวให้บิดป้ายไปทางขวา และเดินไปเรื่อยๆจนผ่านธงที่ ๓ ให้บิดป้ายกลับ
การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
ขณะทำความเคารพอยู่กับที่
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับกองลูกเสือสามัญ,สามัญรุ่นใหญ่, วิสามัญ และผู้ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับขบวนสวนสนามเมื่อร่วมพิธีสวนสนามและทบทวนคำปฎิญาณจะต้องมีไม้ถือ มีข้อปฏิบัติ คือ
๑.ท่าถือปกติ ใช้มือซ้ายถือไม้ถือ โดยเอาหนีบไว้ใต้ซอกรักแร้ แขนซ้ายท่อนบนขนานกับลำตัวและ หนีบไม้ไว้แขนซ้ายท่อนล่างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือซ้ายกำโคนไม้ถือ ห่างปลายโคนไม้ถือประมาณ ๑ ฝ่ามือหงายฝ่ามือขึ้นให้ไม้ถือขนานกับพื้น
๒.ท่าบ่าอาวุธ เอามือขวาจับที่โคนไม้ถือ โดยคว่ำฝ่ามือลง แล้วดึงไม้ถือออกจากซอกรักแร้ ชี้ไม้ถือให้เฉียงประมาณ ๔๕ องศา ปลายชี้ขึ้นฟ้า แขนขวาเหยียดตรง ปล่อยแขนซ้ายลงข้างลำตัว หลังจากนั้นดึงไม้ถือเข้าหาปากห่างจากปากประมาณ ๑ ฝ่ามือ แขนขวางอตั้งฉากขนานกับพื้น ไม้ถือชี้ขึ้นตั้งตรงมือขวากำโคนไม้ถือ นิ้วทั้ง ๔ เรียงกันด้านนอก นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านใน จากนั้นจับไม้ถือเข้าหาร่องไหล่ขวา แขนขวาเหยีดตรงแนบลำตัว โคนไม้ถืออยู่ระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ ปลายไม้ชี้ขึ้นตรงอยู่ในร่องไหล่ขวา
๓.ท่าวันทยาวุธ จะต้องทำต่อจากท่าบ่าอาวุธ ซึ่งในขณะนั้นไม้ถืออยู่ที่ร่องไหล่ขวา ให้ยกไม้ถือขึ้น เสมอปากห่างจากปากประมาณ ๑ ฝ่ามือ แขนขวางอขนานกับพื้น จากนั้นให้ฟาดไม้ลงให้ปลายไม้ชี้ที่พื้นดิน เฉียงประมาณ ๔๕ องศา ปลายไม้ห่างจากพื้นดินประมาณ ๑ คืบ แขนขวาแนบลำตัว แขนซ้ายแนบลำตัว เหมือนอยู่ในท่าตรง หน้ามองตรง
๔.ท่าเรียบอาวุธ ทำต่อจากท่าวันทยาวุธ ยกไม้ถือขึ้นเสมอปากแล้วดึงไม้ถือเข้าหาร่องไหล่ขวา เหมือนท่าบ่าอาวุธ (เป็นจังหวะที่ ๑ ซึ่งเมื่องสั่ง"เรียบ-อาวุธ" จะทิ้งจังหวะให้ทำในจังหวะที่ ๑ ก่น คือสั่งว่า "เรียบ" แล้วทิ้งช่วงไว้จนทำเสร็จจังหวะที่ ๑ แล้วสั่งว่า "อาวุธ" จึงเริ่มทำจังหวะที่ ๒) จากนั้นกำโคนไม้ถือ เหยียดแขนขวาขึ้นเฉียงขึ้น ๔๕ องศา ปลายไม้ถือชี้ขึ้นฟ้า หักข้อมือขวาลงให้ปลายไม้ถือชี้เข้าหาซอกรักแร้ ซ้ายงอแขนซ้ายขึ้นรองรับไม้ถือ จับไม้ถือด้วยมือซ้ายเหมือนท่าถือปกติ
การทำความเครพด้วยไม้ถือจะทำเมื่อได้ยินคำสั่ง ดังนี้
ครั้งที่ ๑ สั่งเมื่อประธานในพิธีมาถึงและวงดุริยางค์บรรเลงเพลง มหาฤกษ์ จนจบเพลง "เคารพประธานในพิธี-ตรงหน้าระวัง" ก็ดึงไม้ถือจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ"วันทยาวุธ" จับไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธเป็นท่าวันทยาวุธ "เรียบ" จากท่าวันทยาวุธมาเป็นท่าบ่าอาวุธถ "อาวุธ" จากท่าบ่าอาวุธกลับมาเป็นท่าถือปกติ
ครั้งที่ ๓ เมื่อจะเริ่มสวนสนาม ดุริยางค์บรรเลงเพลงเดิน เช่น เพลงสยามมานุสติ"แบกอาวุธ" ทำจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ
ครั้งที่ ๔ สั่งเมื่อส่งประธานในพิธีกลับ ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์"เคารพประธานในพิธี-ตรงหน้าระวัง" ก็ดึงไม้ถือจากท่าถือปกติมาเป็นท่าบ่าอาวุธ "วันทยาวุธ" จับไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธเป็นท่าวันทยาวุธ "เรียบ" จากท่าวันทยาวุธมาเป็นท่าบ่าอาวุธ "อาวุธ" จากท่าบ่าอาวุธกลับมาเป็นท่าถือปกติ
ขณะเดินสวนสนาม
๑.เมื่อเริ่มเดินจะถือไม้ถืออยู่ในท่าบ่าอาวุธ แขนซ้ายแกว่งปกติ แขนขวาแกว่งเล็กน้อย
๒.เมื่อเดินถึงธงที่ ๑ ยกไม้ถือจากท่าบ่าอาวุธมาเสมอปาก ปลายไม้ชี้ขึ้นฟ้าแขนขวางอขนานกับพื้น แขนซ้ายแกว่งปกติ ผู้กำกับฯทำเองเมื่อเดินถึงธงที่ ๑ รองผู้กำกับฯ เมื่อถึงธงที่ ๑ ให้ทำพร้อมกับออกคำสั่งว่า "ระวัง"
๓.เมื่อเดินถึงธงที่ ๒ ก็ฟาดไม้ลงเหมือนท่าวันทยาวุธ แขนซ้ายไม่แกว่ง สลัดหน้าไปทางขวาผู้กำกับฯทำเมื่อถึงธงที่ ๒ รองผู้กำกับฯทำพร้อมออกคำสั่งว่า "แลขวา-ทำ" เมื่อเดินถึงธงที่ ๒
๔.เมื่อเดินถึงธงที่ ๓ ก็ดึงไม้กลับจากท่าวันทยาวุธกลับมาเป็นท่าบ่าอาวุธ ผู้กำกับฯและรองผู้กำกับฯทำเมื่อเดินผ่านธงที่ ๓ โดยไม่ต้องออกคำสั่ง การทำความเคารพด้วยไม้ถือขณะเดินให้ทำไปพร้อมกับเดินโดยทำและออกคำสั่งเมื่อจังหวะตบเท้าซ้าย


http://watchangkham.igetweb.com/index.php?mo=10&art=18359